ในงานพ่นสีหรือเคลือบพื้นผิว ทั้งในงานอุตสาหกรรมหนัก โครงสร้างเหล็ก หรือแม้แต่งานพื้นผิวคอนกรีต สิ่งหนึ่งที่มักสร้างความปวดหัวในการควบคุมคุณภาพงานมากที่สุด คือ ความหนาของสี ไม่ว่าจะเป็นสีหลุดลอกเร็ว สีพอง แตก หรือเสียรูป ซึ่งหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหา เหล่านี้ก็คือไม่ได้มีการตรวจสอบความหนาสีอย่างถูกวิธี
บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับเครื่องมือสำคัญที่ช่วยควบคุมคุณภาพงานพ่นสีอย่างมืออาชีพ อย่างเครื่องวัดความหนาสี เจาะลึกถึงความสำคัญและวิธีตรวจความหนาสี พร้อมทั้งแนะนำเครื่องวัดความหนาสีที่เชื่อถือได้ เพื่อชิ้นงานที่มีคุณภาพสูงสุดและได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ
สีหลุดล่อนและสีพอง สัญญาณความหนาสีที่ผิดพลาด
ไม่ว่าจะเป็นงานพ่นสีโครงสร้างอาคาร เรือ โรงงาน หรือแม้แต่งานเคลือบผิวทั่วไป ปัญหาสีหลุดล่อนและสีพอง ถือเป็นฝันร้ายของช่างพ่นสีและเจ้าของงานมานักต่อนัก ทั้งสิ้นเปลืองเวลา เสียต้นทุนซ้ำซ้อน และอาจทำลายความน่าเชื่อถือของโปรเจกต์ในระยะยาว
สีหลุด
เป็นลักษณะที่ชั้นสีค่อย ๆ หลุดออกจากพื้นผิว กลายเป็นแผ่นหรือเศษเล็ก ๆ สีจะหลุดจากจุดใดจุดหนึ่งก่อน แล้วค่อย ๆ ลามออกไปเรื่อย ๆ ทำให้พื้นผิวไม่เรียบเนียนและเปิดเผยให้วัสดุภายในสัมผัสกับอากาศ ความชื้น หรือสิ่งสกปรกได้ง่าย
สีพอง
เป็นลักษณะที่สีพองตัวขึ้นเป็นตุ่มหรือฟองอากาศเล็ก ๆ บนผิวงาน เมื่อสัมผัสจะรู้สึกว่านูนขึ้นมา สีดูบวมไม่สม่ำเสมอ และอาจมีรอยแตกหรือล่อนตามมาในระยะยาว ลักษณะนี้ทำให้ผิวงานดูไม่เรียบร้อยและเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ
ทำไมต้องใส่ใจเรื่องความหนาสี?
แม้ผิวเผินจะดูเป็นเพียงปัญหาด้านความสวยงาม แต่ทั้งสองปัญหานี้ สามารถลุกลามเป็นความเสียหายด้านโครงสร้างและต้นทุนได้ หากไม่รีบจัดการอย่างถูกวิธีตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น
- เปิดทางให้ความชื้นและสารเคมีเข้าทำลายโครงสร้าง น้ำ ความชื้น หรือสารเคมีสามารถแทรกซึมเข้าไปยังชั้นวัสดุด้านใน เช่น เหล็กหรือคอนกรีต เมื่อสีลอกหรือพอง สีจะไม่สามารถปกป้องพื้นผิววัสดุได้อีกต่อไป ทำให้เกิดสนิม ร้าว หรือเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ
- เร่งการเสื่อมสภาพของพื้นผิว วัสดุที่ไม่มีชั้นสีป้องกันจะเสื่อมคุณภาพเร็ว เช่น สนิมกินโครงสร้างเหล็ก หรือความชื้นซึมเข้าคอนกรีตจนเกิดการแตกร้าว หากยิ่งปล่อยไว้นาน ค่าใช้จ่ายในการซ่อมก็จะยิ่งสูงขึ้นตามระดับความเสียหาย
- ส่งผลต่อความปลอดภัยและอายุการใช้งาน ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานและทีมงาน รวมถึงอายุการใช้งานของสินทรัพย์โดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานอุตสาหกรรม เช่น เรือ ปิโตรเคมี หรือโครงสร้างเหล็ก สีที่เสียหายอาจทำให้โครงสร้างเสี่ยงต่อการพังทลายได้
- เพิ่มต้นทุนซ่อมซ้ำและค่าแรงโดยไม่จำเป็น งานพ่นสีใหม่ทั้งระบบมักต้องขัดสีเก่าออก ล้างพื้นผิว พ่นสีใหม่ ตรวจสอบซ้ำ และเสียเวลาหยุดงาน ซึ่งเพิ่มภาระทั้งค่าแรง ค่าวัสดุ และต้นทุนโอกาส (Opportunity Cost) ที่ต้องหยุดการผลิตหรือใช้งาน
การตรวจความหนาสีช่วยอะไรได้บ้าง?
การตรวจวัดความหนาของชั้นสีเป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการควบคุมคุณภาพ ช่วยให้มั่นใจว่างานพ่นสีหรือเคลือบพื้นผิวได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ทั้งยังช่วยลดปัญหาสีหลุดลอกก่อนเวลาอันควรและประหยัดต้นทุนวัสดุได้อีกด้วย
- ป้องกันการกัดกร่อน สีที่มีความหนาอย่างเหมาะสมจะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันพื้นผิวจากสนิม สารเคมี และการกัดกร่อนจากสภาพแวดล้อมได้เต็มประสิทธิภาพ
- เพิ่มความทนทานและยืดอายุการใช้งาน สีที่ได้มาตรฐานความหนาจะทนทานต่อการสึกหรอ การขูดขีด และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ดีกว่า ลดปัญหาสีพอง สีหลุด หรือสีลอก ทำให้ชิ้นงานมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ลดความจำเป็นในการบำรุงรักษาบ่อยครั้ง
- ให้ความสวยงามในระยะยาว ความหนาของสีที่สม่ำเสมอ ส่งผลให้พื้นผิวเรียบเนียน ไม่เป็นคลื่น ไม่เป็นด่าง
- ควบคุมต้นทุนการผลิตและลดการสูญเสีย การพ่นสีที่ไม่ถูกวิธี นอกจากจะเปลืองสี เปลืองเวลา เปลืองแรงงานและวัสดุโดยไม่ใช่เหตุแล้ว ยังอาจนำไปสู่ปัญหาสีพอง สีลอก ที่ต้องตามแก้ไข การวัดความหนาสีที่แม่นยำ จะช่วยให้ใช้สีในปริมาณที่พอดี ลดการสูญเสีย และควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดียิ่งขึ้น
- ตรวจสอบคุณภาพของชั้นเคลือบ ความสม่ำเสมอของความหนาสีเป็นสิ่งสำคัญในการรับประกันประสิทธิภาพการปกป้อง การวัดความหนาช่วยให้เห็นภาพรวมว่าชั้นเคลือบนั้นเรียบเนียนสม่ำเสมอทั่วทั้งพื้นผิวจริงหรือไม่ ป้องกันความเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การกัดกร่อนหรือความเสียหายในอนาคต
- ตอบโจทย์มาตรฐานอุตสาหกรรม งานในบางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมทางทะเล ปิโตรเคมี หรือการผลิตไฟฟ้า มีข้อกำหนดความหนาของสีตามมาตรฐานสากล หากไม่ปฏิบัติตามอาจส่งผลให้งานไม่ผ่านการตรวจสอบและเกิดความเสียหายร้ายแรงได้
สีหลุด สีพอง เกิดจากอะไร?
สีหลุดล่อน (Peeling / Flaking)
ปัญหาสีหลุดล่อน หรือการที่ฟิล์มสีแยกตัวออกจากพื้นผิว มักเกิดขึ้นเมื่อสีสูญเสียการยึดเกาะกับพื้นผิวที่เคลือบไว้ ซึ่งมีหลายสาเหตุหลัก ได้แก่
- ความหนาของสีไม่เหมาะสม ชั้นสีที่บางเกินไปทำให้สีไม่แข็งแรงพอ ป้องกันแรงกระแทกหรือการเสียดสีไม่ได้ ส่วนชั้นสีหนาเกินไปทำให้สีแห้งไม่ทั่ว เกิดการกักเก็บสารละลายไว้ภายใน ส่งผลให้สีพองหรือหลุดล่อนในภายหลัง
- พื้นผิวสกปรกหรือมีคราบน้ำมัน สีไม่สามารถยึดเกาะกับผิววัสดุได้ดี
- ความชื้นในพื้นผิวสูงเกินไป โดยเฉพาะการพ่นบนโลหะหรือคอนกรีตที่ยังไม่แห้ง
- เลือกสีไม่เหมาะกับพื้นผิว เช่น ใช้สีกลุ่มเดียวกับเหล็ก ไปพ่นกับอะลูมิเนียม
- ไม่มีการพ่นรองพื้น (Primer) สีทับหน้าเกาะไม่อยู่ หลุดล่อนง่าย
- สภาพอากาศและอายุการใช้งาน การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ แสงแดด หรือสีหมดอายุการใช้งาน
อ่านบทความที่น่าสนใจ: สีพ่นอุตสาหกรรมมีกี่ประเภท? ใช้แบบไหนให้เหมาะกับพื้นผิว
สีพอง (Blistering / Bubbling)
ปัญหาสีพอง คือการที่ฟิล์มสีบวมปูดขึ้นมาเป็นถุงเล็ก ๆ อาจมีของเหลวหรืออากาศอยู่ภายใน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสูญเสียการยึดเกาะระหว่างชั้นสีกับพื้นผิว หรือระหว่างชั้นสีด้วยกันเอง มีหลายสาเหตุหลัก ได้แก่
- มีอากาศหรือความชื้นใต้ชั้นสี พ่นสีบนพื้นผิวที่ยังไม่แห้งสนิท หรือมีความชื้นสะสมอยู่ รวมถึงความชื้นจากภายนอก/ภายใน ซึมเข้าสู่โครงสร้างและดันสีให้พอง
- พ่นสีหนาเกินไปในรอบเดียว ทำให้สีชั้นบนแห้งเร็ว แต่ชั้นในยังชื้นอยู่ และสารตัวทำละลาย ระเหยไม่หมดและดันฟิล์มสีออกมา
- พ่นสีทับชั้นเดิมที่ยังไม่แห้งสนิท สารตัวทำละลายในชั้นล่างถูกกักเก็บไว้ และระเหยออกมาในภายหลัง ทำให้เกิดการพอง
- พ่นสีตอนแดดจัดหรือร้อนจัด อุณหภูมิสูงทำให้ชั้นสีเกิดฟองจากการขยายตัวของความชื้น และสารตัวทำละลายระเหยเร็วเกินไป ถูกกักไว้ใต้ฟิล์มสี
- ผสมสีไม่ถูกต้อง สารเจือจางหรืออัตราส่วนผสมไม่เหมาะสม ส่งผลต่อการแห้งตัวและการยึดเกาะ
อ่านบทความที่น่าสนใจ: วิธีดูแลสีพ่นให้เหมือนใหม่! ยืดอายุการใช้งานของสีพ่นให้ติดทนนาน
วิธีเช็กความหนาสีด้วยเครื่องวัดความหนาสี
การใช้งานเครื่องวัดความหนาสีง่ายกว่าที่คิด เพียงแค่ปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้ คุณก็สามารถวัดและควบคุมคุณภาพงานพ่นสีได้อย่างมืออาชีพ
1. เตรียมพื้นผิวให้พร้อม
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพื้นผิวที่จะเช็กความหนาสีนั้นสะอาด ไม่มีฝุ่น คราบไขมัน น้ำ หรือสิ่งสกปรกใด ๆ เกาะอยู่ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลต่อความแม่นยำในการวัดได้
2. สอบเทียบเครื่องมือ (Calibration)
ก่อนการใช้งานทุกครั้ง รวมถึงเมื่อเปลี่ยนประเภทของพื้นผิวหรือสภาพแวดล้อม ต้องทำการสอบเทียบ หรือที่เรียกว่า Calibrate เครื่องวัดความหนาสีตามคู่มือของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างแม่นยำและเชื่อถือได้
โดยทั่วไปแล้วจะทำโดยการวัดบนแผ่นโลหะเปล่าที่รู้ความหนาเพื่อตั้งค่าศูนย์ (Zeroing) และใช้แผ่นฟิล์มมาตรฐานที่มีความหนาที่แน่นอนในการตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือ
3.เริ่มลงมือวัดความหนาของชั้นสี
- วางโพรบของเครื่องวัดความหนาสีลงบนพื้นผิวที่ต้องการวัดในแนวตั้งฉาก หรือ 90 องศา กับพื้นผิว ไม่เอียงหรือบิดเบี้ยว
- วัดแบบสุ่มในหลายๆ จุด เพราะการพ่นสีมักไม่สม่ำเสมอ ควรทำการวัดความหนาของสีทั่วทั้งบริเวณหรือชิ้นงาน
- วัดในจุดที่สำคัญหรือจุดเสี่ยงที่อาจเกิดปัญหาบ่อย เช่น มุม ซอก ขอบ หรือบริเวณที่มีการสัมผัสเสียดสีสูง
- วัดซ้ำเพื่อหาค่าเฉลี่ยในแต่ละจุด ควรทำการวัดซ้ำ 3-5 ครั้ง แล้วนำค่าที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย เพื่อลดข้อผิดพลาดจากการวัดเพียงครั้งเดียว และให้ได้ค่าที่เป็นตัวแทนของจุดนั้น ๆ มากที่สุด
- อ่านค่าบนหน้าจอ ส่วนใหญ่เครื่องวัดความหนาสีจะแสดงผลเป็นตัวเลขบนหน้าจอดิจิทัล ซึ่งจะบอกค่าความหนาของสีเป็นหน่วยไมครอน (µm) หรือ มิลส์ (mils)
4. ตรวจสอบค่าตามมาตรฐานงานและบันทึกผล
- เปรียบเทียบกับมาตรฐาน นำค่าความหนาเฉลี่ยที่ได้ไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับงานนั้น ๆ เช่น มาตรฐาน ISO, ASTM, SSPC หรือข้อกำหนดเฉพาะของลูกค้า เพื่อให้แน่ใจว่างานพ่นสีผ่านเกณฑ์คุณภาพและคุณสมบัติที่ต้องการ
- บันทึกข้อมูลอย่างละเอียด จดบันทึกค่าที่วัดได้อย่างเป็นระบบ พร้อมระบุตำแหน่งที่ทำการวัด วันที่ และผู้ตรวจสอบ เพื่อประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการพ่นสี ระบุจุดที่ต้องปรับปรุง และตรวจสอบคุณภาพในอนาคต หรือใช้เป็นหลักฐานในกรณีที่มีข้อโต้แย้ง ไปจนถึงเก็บเป็นข้อมูลเพื่อพัฒนาเทคนิคการพ่นสีและควบคุมคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น
แนะนำเครื่องวัดความหนาสี
เครื่องวัดความหนาสีบนเหล็กและสแตนเลส
Defelsko PosiTector 6000 เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานกับพื้นผิวโลหะทุกประเภท ด้วยการผสานเทคโนโลยีแม่เหล็กและกระแสไหลวนเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถใช้งานได้ทั้งบนพื้นผิวเหล็กและโลหะที่ไม่เป็นแม่เหล็ก เช่น สแตนเลส หรืออะลูมิเนียม ได้อย่างแม่นยำ
- ใช้วัดความหนาสีบนโลหะได้อย่างครอบคลุม ทั้งที่เป็นเหล็กและไม่ใช่เหล็ก
- อ่านค่ารวดเร็วทันใจ ช่วยลดโอกาสผิดพลาดในขั้นตอน QC
- ทนทานสูง เหมาะกับสภาพงานในโรงงานหรือไซต์งานภาคสนาม
- หน้าจอแสดงผลคมชัด พร้อมระบบแสดงผลที่เข้าใจง่ายแม้ในพื้นที่แสงน้อย
- มาตรฐานระดับโลก ผ่านการรับรองจาก ISO, ASTM และ SSPC
ลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสีพอง สีหลุด สีไม่สม่ำเสมอ มั่นใจได้ในความแม่นยำของการควบคุมคุณภาพ เพื่องานพ่นสีที่ต้องการคุณภาพสูงสุด
เครื่องวัดความหนาสีบนคอนกรีต ไฟเบอร์กลาส พลาสติก
งานพ่นสีไม่ได้มีแค่บนโลหะ การมีเครื่องวัดความหนาสีสำหรับวัสดุที่ไม่ใช่โลหะจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ Defelsko PosiTector 200 โดดเด่นด้วยเทคโนโลยี Ultrasonic ในการวัดความหนาสีจากด้านนอก ช่วยให้วัดความหนาของชั้นสีจากด้านนอกได้โดยไม่ต้องเจาะหรือทำลายพื้นผิว
- ไม่ทำลายพื้นผิว เหมาะกับวัสดุเปราะบางหรือพื้นที่สำคัญ เช่น ผนังคอนกรีต ไฟเบอร์กลาส หรือพื้นพลาสติก
- รองรับพื้นผิวที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสีบนโครงสร้างคอนกรีต หรืองานตกแต่งภายนอก
- ตรวจสอบชั้นสีหลายชั้นได้ในครั้งเดียว พร้อมแสดงค่าความหนาแต่ละชั้นแยกชัดเจน
- แม่นยำสูง ใช้งานง่าย
- เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมคุณภาพ ช่วยให้ชั้นเคลือบได้มาตรฐานสูงสุด
ตอบโจทย์งานวัดความหนาสีบนวัสดุไม่ใช่โลหะ เสริมความคงทน ลดต้นทุนซ่อมบำรุง พร้อมเพิ่มคุณภาพงานพ่นสีอย่างมืออาชีพ
มั่นใจได้ในทุกการเคลือบผิว ด้วยเครื่องวัดความหนาสีที่ช่างมืออาชีพไว้วางใจ
การควบคุมความหนาสีไม่ได้เป็นแค่ขั้นตอนเสริม แต่เป็นหัวใจสำคัญของงานพ่นสีที่ได้มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันการกัดกร่อน ดังนั้น การเลือกใช้เครื่องวัดความหนาสีที่แม่นยำและเชื่อถือได้ จึงเป็นการลงทุนเพื่อลดปัญหาสีหลุดพอง ควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยกระดับการ QC งานพ่นสีให้ได้มาตรฐานระดับสากล
มาตรฐานที่ดี เริ่มต้นจากการวัดที่แม่นยำ หากไม่อยากเสี่ยงกับปัญหาสีหลุด สีพอง หรือการพ่นสีที่ไม่ได้คุณภาพ บริษัท อินเทค จำกัด เราจัดจำหน่ายเครื่องวัด QC ที่รองรับงานที่มีมาตรฐานสูง และพร้อมให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านงานพ่นสีโดยเฉพาะ เพื่อให้คุณมั่นใจในคุณภาพที่ทนทาน สวยงาม และได้มาตรฐานทุกชิ้นงาน